ช่วงนี้ถามใคร ใคร ๆ ก็กังวลกับสภาวะเศรษฐกิจ ทั้งภายนอกและภายในประเทศ วิตกกังวลกับการว่างงาน คนที่ทำงานอยู่ ก็กังวลว่าอาจจะถูกเลิกจ้าง คนที่หางาน ก็กังวลว่าจะไม่ได้งานทำ
ผมมานั่งคิดดู กลับพบว่าเป็นโอกาสของคนไทยด้วยซ้ำ แล้วมีโอกาสอะไรบ้าง ลองมาดูกัน
ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่าประเทศไทยพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก แต่ขณะนี้พบว่าตลาดผู้ซื้อใหญ่ของไทยซึ่งก็คือ สหรัฐอเมริกาเกิดภาวะเศรษฐกิจชะงักงัน การจับจ่ายใช้สอยของประชาชนลดลง เนื่องจากเกิดความไม่มั่นในฐานะการงาน และเงินของตนเอง ที่เป็นผลต่อเนื่องมาจากสถาบันการเงินไม่ปล่อยกู้ให้ทั้งกับภาคเอกชนและบุคคล จนรัฐบาลต้องเข้ามาเป็นผู้ดูแล เช่นเดียวกับประเทศไทย
เมื่อคนเกิดภาวะไม่มั่นใจเช่นนี้ พฤติกรรมในการใช้จ่ายย่อมเปลี่ยนไป การใช้จ่ายก็จะใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น ได้แก่ ปัจจัยสี่ (อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค)
แล้วทำอย่างไรจะประหยัดงบในการใช้จ่ายสิ่งเหล่านี้ได้มากที่สุด หนึ่งก็ต้องซื้อเฉพาะสินค้าที่มีคุณภาพ การผลิตไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ในราคาที่ต่ำ
แล้วมีหรือ? ของราคาถูก คุณภาพสูง หาได้ที่ไหนล่ะ
คำตอบคือ ก็สินค้าจากเมืองไทยที่ล่ะ ที่เราต้องหันมาเน้นเรื่องคุณภาพสินค้าให้สูงสุด ได้มาตรฐาน ISO ทุกตัว รวมไปถึง SA ด้วย
อาหาร - ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ผลิตอาหารป้อนชาวโลกอยู่แล้ว นอกจากอาหารที่เป็นวัตถุดิบแล้ว อาหารสำเร็จรูปต่าง ๆ ก็ต้องพัฒนาต่อยอดให้มีคุณภาพทัดเทียมได้
ที่อยู่อาศัย - ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศที่ดี เหมาะแก่การเข้ามาท่องเที่ยว พักอาศัยแบบโฮมสเตย์ โดยมีค่าใช้จ่ายต่ำ และคนไทยก็พร้อมต้อนรับชาวต่างชาติทุกประเทศ ยกเว้นแอฟริกา อย่าไปต้อนรับมาก เพราะเกินครึ่งที่เข้ามา เข้ามาทำธุรกิจผิดกฏหมาย
เครื่องนุ่งห่ม - วัตถุดิบด้านสิ่งทอเรามีมากมาย เพียงแต่ต้องออกแบบให้ตรงกับความต้องการ และมีคุณภาพสูง
ยารักษาโรค - เรามีโรงพยาบาล แพทย์ และพยาบาลมากมายทั่วประเทศ ที่พร้อมรักษาในราคาที่ถูกกว่า
ผมมองว่าธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยสี่นี่ล่ะ ที่จะนำพาประเทศไทยให้รอดพ้นภาวะวิกฤตได้ เพียงแต่มีปัจจัย 2 ประการที่ต้องทำ คือ
1. คุณภาพ ขอให้เน้นเรื่องนี้เป็นสำคัญที่สุด ลดอะไรลดได้ แต่อย่าลดคุณภาพ ช่วงนี้เป็นช่วงที่ดีที่สุด ที่จะมีการอบรมพนักงานทุกคนในเรื่องการให้บริการ การพัฒนาสถานที่ เอา ISO ที่เคยได้มา มานั่งดูอีกครั้งว่าสามารถปรับปรุงให้ดีขึ้นอีก และนำมาใช้อย่างจริงจัง เพราะผมเห็นหลาย ๆ บริษัท โดยเฉพะบริษัทคนไทยแท้ ที่ทำ ISO เพื่อจะได้ชื่อว่ามี ISO แต่ไม่ได้นำมาใช้อย่างจริงจังเลย เมื่อมีการประเมิน ก็จะโรยผักชีกับผู้ตรวจ เมื่อผ่าน ก็กลับไปทำตามความเคยชินเช่นเดิม
2. การประชาสัมพันธ์ เมื่อมีของดีก็ต้องอวดกันหน่อย สิ่งแรกที่ต้องทำก็คือ อินเตอร์เน็ต หากบริษัทใดยังไม่มีเว็บไซต์ของตนเอง ก็เริ่มลงมือทำได้แล้วครับ สิ่งนี้จะเป็นโอกาสในธุรกิจ และเมื่อทำแล้วก็ขอให้ทำแบบมืออาชีพจริง ๆ หากนึกไม่ออกว่าทำแบบมืออาชีพทำอย่างไร ก็ขอให้เข้าไปดูเว็บไซต์บริษัทที่ทำธุรกิจเดียวกัน หรือใกล้เคียง แล้วนำมาประยุกต์ใช้ มีจุดเด่นอะไร ลิสต์ขึ้นมา 3 อย่าง แล้วก็เน้นที่ 3 อย่างนี่ล่ะ ไม่ต้องดีครอบจักรวาลหรอกครับ นอกจากเว็บไซต์แล้ว เวลาที่หน่วยงานราชการจัดโรดโชว์ต่างประเทศก็ต้องตามไปออกด้วย
ผมขอให้เน้น 2 สิ่งนี้ก่อน ส่วนอื่น ๆ ค่อยว่ากัน แต่ก็อาจมีปัญหาอยู่ว่าทั้งสองสิ่งนี้ยังไม่เห็นรายได้กลับมาทันทีทันใด ในขณะที่บริษัทก็ยังต้องจ่ายค่าจ้างพนักงาน และยอดขายบริษัทก็ตกลงไป แน่นอนก็ต้องกลับมาเรื่องการลดต้นทุน
ผมอยากให้ศึกษาเรื่องโลจิสติกส์อย่างจริงจัง หรือจ้างที่ปรึกษามาช่วย จะจากเอกชนหรือหน่วยงานราชการก็แล้วแต่
โลจิสติกส์ในความหมายผมไม่ใช่การขนส่ง แต่หมายถึงทุกกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวในองค์กร เช่น การติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ก็ถือเป็นโลจิสติกส์อย่างหนึ่ง การทำงานประจำวันของพนักงาน ก็ถือเป็นโลจิสติกส์อย่างหนึ่ง ทุกขึ้นตอนการผลิตก็ถือเป็นโลจิสติกส์
ลองหาหนังสือเกี่ยวกับการผลิตแบบโตโยต้า หรือลีน มาศึกษาดูนะครับ มีแปลไทยหลายเล่ม เช่น Toyota way, Lean logistics เป็นต้น
สุดท้ายคงฝากไปถึงรัฐบาล ที่ขอให้ช่วยก็คือ
1. การพัฒนาความรู้เรื่องISO, SA และลีน ให้กับบริษัทเอกชน
2. ดึงภาคเอกชนไปร่วมโรดโชว์ตามประเทศต่าง ๆ ให้มากขึ้น โดยเฉพาะโรงพยาบาล และโฮมสเตย์
3. ปล่อยค่าเงินบาทให้ต่ำลงมากกว่านี้ ผมมองที่ 39 บาทกำลังดี
สุดท้ายนี้ เมื่อบริษัทที่ทำเกี่ยวกับปัจจัยสี่นี้ดีขึ้นแล้ว ผมเชื่อว่าจะส่งผลให้ธุรกิจอื่น ๆ ภายในประเทศดีตามไปด้วยอย่างแน่นอน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น